คืบหน้าโครงการเราชนะล่าสุด วันนี้ 17 ม.ค. 2564 ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำชับกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมระบบรองรับการลงทะเบียน ทั้ง โครงการคนละครึ่ง ที่ปิดลงทะเบียนรอบเก็บตก เพิ่ม 1 ล้านสิทธ์
โครงการเราชนะ เยียวยาประชาชน 3,500 บาท 2 เดือน รวม 7,000 บาท
โดยให้ดูความพร้อมของระบบเพื่อบริการประชาชน ลดช่องโหว่ต่างๆให้ได้มากที่สุด พร้อมอธิบายชี้แจงวิธีการลงทะเบียนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ทุกช่องทางการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจ รวมถึงป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับมาตรการต่างๆของภาครัฐ
แอปเราชนะ – นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่ได้ปรากฏว่ามีการเผยแพร่ “แอปพลิเคชันลงทะเบียนเราชนะ” ตามสื่อต่างๆ นั้น กระทรวงการคลัง ขอเรียนว่า แอปพลิเคชันดังกล่าว ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโครงการเราชนะของรัฐบาลและกระทรวงการคลังแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสน และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการเราชนะของรัฐบาล จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังในการอ่าน ส่ง หรือแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มิได้ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการจากกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังขอเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมแอบอ้างโดยมีเจตนาหลอกลวงหรือทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวโดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และหากพบว่ามีการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายทันที ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาโครงการเราชนะในวันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 นี้ และจะมีการแถลงข้อมูลที่เป็นทางการอย่างชัดเจน โดยสามารถติดตามสืบค้นข้อมูลข่าวสารและความคืบหน้าที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการเราชนะ ได้จากแถลงข่าวกระทรวงการคลัง ในเว็บไซต์ www.mof.go.th หรือในเฟซบุ๊ก “สถานีข่าวกระทรวงการคลัง”
จากการลงมติให้มีการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในส่วนของสาธารณูปโภคพื้นฐานนั้น ทาง ครม. ได้มีคำสั่งให้หน่วยที่เกี่ยวข้องออก มาตรการเยียวยา และช่วยเหลือ ผ่านการ ลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา แก่บ้านพักที่อยู่อาศัย รวมไปถึงกิจการขนาดเล็ก
โดยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีข้อสรุปให้ทำการลดค่าบริการไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า 23.7 ล้านราย ใช้งบประมาณ 8.2 พันล้านบาท
ธปท.เผย โควิดระลอกใหม่ กระทบเศรษฐกิจรุนแรงน้อยกว่าระลอกแรก
ธปท. คาดการณ์ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ไม่รุนแรงเท่าการระบาดระลอกแรกจากการมีบทเรียนและการปรับตัวของทุกภาคส่วน พร้อมเน้นย้ำมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางต้องทันการณ์และตรงจุด
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ในไทย ที่แม้จะกระจายเป็นวงกว้างและเร็วกว่าการระบาดระลอกแรก แต่พบว่าความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ขณะที่ความพร้อมด้านสาธารณสุขมีมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาการของวัคซีนและแผนการได้รับวัคซีนของไทยเริ่มมีความชัดเจน ทำให้ ธปท. คาดการณ์ผลกระทบจากของการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่าการระบาดระลอกแรก สะท้อนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงน้อยกว่า นอกจากนี้ภาครัฐมีมาตรควบคุมการแพร่ระบาดในครั้งนี้เข้มงวดน้อยกว่า และภาคการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวได้ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวในระยะต่อไปจะต่างกัน ทั้งในเชิงพื้นที่ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มแรงงาน โดยพื้นที่ที่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมเข้มงวด 28 จังหวัด ซึ่งครอบคลุมสัดส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงเกินครึ่งของประเทศจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่ด้านกลุ่มธุรกิจจะมีกลุ่มที่เปราะบางเพิ่มเติมจากรายได้ที่ลดลงในช่วงนี้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจภาคบริการ นอกจากนี้ บางกลุ่มที่มีฐานะการเงินอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว เช่น ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว จะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่นี้เพิ่มเติม ส่วนผลกระทบด้านแรงงาน คาดว่ากลุ่มแรงงานในพื้นที่สีแดงที่มีมาตรการการควบคุมเข้มงวด มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบประมาณ 4.7 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวันและผู้มีอาชีพอิสระ ที่จะมีชั่วโมงการทำงานลดลงและมีรายได้ลดลงมาก
ในระยะข้างหน้า แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน โดยมีปัจจัยมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 การกระจายวัคซีนในไทยและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงมาตรการภาครัฐที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจ อีกทั้งในปัจจุบัน หลายภาคธุรกิจและครัวเรือนมีฐานะการเงินที่เปราะบางมากขึ้นจากการระบาดระลอกแรก ทำให้ความสามารถในการรองรับแรงกระแทกทางเศรษฐกิจน้อยลง ดังนั้น การช่วยเหลือภาคธุรกิจและแรงงานอย่างทันการณ์เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน และต้องเน้นการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางให้ทั่วถึงและตรงจุดมากที่สุด ซึ่งภาครัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือ รวมถึง ธปท. ที่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว
รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ทุกประเทศทั่วโลกยอมรับว่าการสาธารณสุขมูลฐานเป็นพื้นฐาน และเป็นหลักการสำคัญที่จะทำให้ทุกประเทศทั่วโลกบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของโลก
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง